4. จรรยาบรรณของพนักงาน (Code of Conduct)
ข้อควรปฏิบัติและพฤติกรรมต้องห้ามของพนักงานเร่งรัดหนี้สิน

- พนักงานต้องยึดมั่นในกฎหมาย กฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ที่ใช้อยู่ในวงการธุรกิจ อยู่ตลอดเวลาเมื่อใดที่บรรดาสมาคม หรือความร่วมมือในวงการการค้าได้มีข้อกำหนดจรรยาบรรณของการตลาด ขึ้นมาพนักงานต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณนั้นโดยเคร่งครัด
- พนักงานจะใช้จดหมายหรือตัวบทสนทนาที่ต้องสื่อสารให้กับลูกหนี้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
- พนักงานจะต้องดำเนินการจัดเก็บหนี้ เป็นไปตามนโยบายของผู้ว่าจ้างกำหนด
- พนักงานจะต้องให้ความรู้กับลูกค้าเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ และให้ลูกค้านึกถึง สถานภาพทางการเงินของตนในการกำหนดแผนการชำระเงินด้วย
- พนักงานจะต้องตอบข้อซักถาม ข้อขัดแย้งของลูกค้า และตอบรับการร้องขอข้อมูลเหตุผลอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบของบริษัทหรือของผู้ว่าจ้าง
- จะไม่ทำการข่มขู่ลูกหนี้เพื่อบังคับให้ทำการชำระหนี้
- พนักงานจะต้องแต่งกายอย่างเหมาะสมเมื่อต้องพบกับลูกค้าแบบถึงตัว โดยต้องพกเอาหลักฐานการแสดงตนที่เหมาะสมไว้ตลอดเวลา และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเข้าพบ หรือแนะนำตัวในนามบริษัท , การโทรศัพท์หาลูกค้าด้วย
- พนักงานจะต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า โดยมั่นใจว่าไม่มีการเปิดเผยภาระหนี้ของลูกค้ากับบุคคลที่สาม หากมิได้รับการยินยอมจากลูกค้าและ/หรือต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
- พนักงานต้องบันทึกรายละเอียดผลการติดต่อเจรจาเป็นเช่นไร? ลงในระบบการติดตามหนี้ทุกครั้ง เมื่อการติดต่อกับลูกค้าสิ้นสุดลง
- พนักงานจะต้องการแจ้งข้อมูลจัดเก็บเฉพาะหนี้คงค้างของลูกค้ารวมทั้งค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามที่ปรากฏในบัญชีเท่านั้น ต้องไม่แจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จต่อลูกค้า เพื่อผลประโยชน์ของตนเองเด็ดขาด
- พนักงานจะไม่รับของขวัญหรือสินบนไม่ว่าจะเป็นสิ่งของใดๆ และต้องรายงาน การเสนอของขวัญหรือสินบนให้กับผู้จัดการ/ผู้บริหารของบริษัททราบทันทีและทุกครั้ง เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยไม่มีข้อยกเว้น
- พนักงานจะไม่สร้างเรื่องเท็จหลอกลวงลูกหนี้เพื่อให้ติดต่อกลับ
- ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติ
- ห้ามมิให้กล่าวอ้างนโยบายของผู้ว่าจ้างอันเป็นการมิชอบเด็ดขาด