- รู้ลึก PDPA
- อายัดเงินเดือนที่ควรรู้
- เรื่อง ธปท. ออกหนังสือเวียน
- พรบ.การติดตามทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
- สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้
- พรก.แก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด
- ผู้ค้ำประกันควรรู้
- ติดตามทวงถามหนี้อย่างไร ? ไม่ผิด พ.ร.บ.ทวงหนี้และ พ.ร.บ.คุ้มครองขอมูลส่วนบุคล
- ฎีกาน่าสนใจ
- ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
- อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
COLLECTION POLICY
บริษัท เดอะ ลอว์ กรุ๊ป จำกัด
THE LAW GROUP CO.,LTD.
35/427-429 หมู่ 13 ซอยประเสริฐมนูกิจ 48 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240
หมายเลขโทรศัพท์ 02-1029664-5 หรือ 062-591-8600 Email: support@thelaw.co.th
COLLECTION POLICY
นโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการติดตามเร่งรัดหนี้สิน
THE LAW GROUP CO.L TD
1.การให้ข้อมูลกับลูกหนี้
*การให้ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับหนี้
*การข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีทางกฎหมายอาญา
*การแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับผลจากการเป็นลูกหนี้ที่ล้มละลาย เช่น การแจ้งว่าสถานะบัญชีหนี้ ไม่สามารถปลดออกได้เลย
*ไม่ให้ใช้ชื่อธุรกิจหรือองค์กรใดๆ ที่เป็นเท็จ ที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิด
*ต้องไม่ส่งไปรษณียบัตรหรือจดหมายที่เกี่ยวข้องกับยอดค้างชำระ หรือหนี้ที่ไม่ได้ มีการปิดผนึก ให้ลูกหนี้
2.การติดต่อลูกหนี้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
* ติดต่อ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด 8:00-20:0 น. จันทร์-ศุกร์ และ 8:00-18:00 น. วันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
ติดต่ออย่างสมเหตุสมผลภายในความถี่ที่เหมาะสมกรณีได้สนทนากับลูกหนี้ คือ วันละ 1 ครั้งแต่ไม่ควรเกิน 4ครั้งต่อเดือน
เว้นเสีย แต่ว่าลูกค้าลูกหนี้ได้แสดงความยินยอมอนุญาตให้ติดต่อ นอกเหนือเวลาดังกล่าว และต้องแน่ใจว่าได้มีการบันทึกไว้ในระบบการติดตามหนี้
3.ข้อปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้
3.1.ข่มขู่ค่าธรรมเนียมทนายความค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถ เรียกเก็บได้จริงตามกฎหมาย
3.2ข่มขู่ว่าจะเปิดเผยยอดหนี้อันเป็นเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียงของลูกหนี้
3.3การโทรศัพท์หลายครั้งหรือทำให้โทรศัพท์ดังอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกหนี้ เกิดความรำคาญ
3.4การโทรศัพท์กับลูกหนี้หรือบุคคลอื่นโดยไม่เปิดเผยชื่อ
3.5 หยาบคาย ดูหมิ่นหรือทำให้ลูกหนี้สำคัญผิดว่าได้ทำสิ่งผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
4.ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้
เรื่องจำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้“ให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้ทราบการทวงถามหนี้ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวัน”
จำนวนครั้งในการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง/วัน อย่างไรนับเป็น 1 ครั้ง
-ส่งข้อความทางไลน์และมีการเปิดอ่าน (ใช้เฉพาะการรับ-ส่งใบชำระ/ใบเสร็จเท่านั้น)
-โทรศัพท์ไปหาและแจ้งเรื่องหนี้หรือทวงหนี้อย่างชัดเจน
อย่างไรไม่นับเป็น 1 ครั้ง
ข้อความทางไลน์แล้วแต่ลูกหนี้ไม่เปิดอ่าน
โทรศัพท์ไปหาแต่ลูกหนี้ยังไม่รับโทรศัพท์หรือรับโทรศัพท์แล้ววางสายก่อนที่จะพูดคุยเรื่องทวงถาม หนี้แต่วางสายก่อนหรือไปการโทรแจ้งวิธีการชำระ กรณีลูกค้ายังไม่ทราบช่องทางการชำระหนี้ หรือมีช่องทางการชำระเพิ่มเติม
ข้อกำหนดในการใช้ไลน์ ติดต่อกับลุกค้า
1.ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า
2.ใช้เพื่อการส่งเอกสารส่งใบเสร็จเท่านั้น
3.ใช้ข้อความสุภาพเหมาะสม
4.เวลาติดต่อลุกค้าวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8:00-20:00 น. วันหยุด 8:00-18:00น.
***ห้ามติดตามทวงถามทางไลน์ เด็ดขาด**
5.การสนทนากับลูกค้า
สวัสดีครับ/คะ ขอเรียนสายคุณ..........................สวัสดีครับ/คะ
จาก(แจ้งชื่อ-สกุลพนักงาน) ติดต่อจากบริษัท............................. จำกัด เรื่อง ขอแจ้งยอดค้างชำระ ณ.ปัจจุบันของลูกค้า
แจ้งแล้วแต่กรณีดังนี้
1.แจ้งงวดที่ลูกค้าคงค้าง สอบถามวันนัดชำระ ..................ขอบคุณครับ/คะ
2.แจ้งยอดคงค้างทั้งหมดเสนอส่วนลดปิด นัดวันชำระ ...............ขอบคุณครับ/คะ
**กรณีติดต่อผู้ค้ำประกัน แจ้งเรื่องเหมือนกับที่แจ้งลูกค้าได้
**กรณีมีคนรับสายแทนลูกค้า/หรือผู้ค้ำประกันสอบถามชื่อสกุลผู้รับมีความเกี่ยวข้องอะไรกับลูกค้า ฝากให้ลูกค้าติดต่อกลับเท่านั้น
!!!!!!ห้ามเด็ดขาด!!!!!!
-ข่มขู่คุกคาม ตั้งคำถามเสียดสี
-หลอกลวงลูกค้าด้วยประการทั้งปวง
-ติดตามทวงถามกับบุคคลที่สาม
-!!ห้ามทะเลาะกับลูกค้าเด็ดขาด ให้ขออนุญาตวางสายทันที
****หากพนักงานทำผิด พระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘****
รับผิดตามกฎหมาย ด้วยตัวเองทุกกรณี
สิ่งที่พนักงานเร่งรัดหนี้สินต้องมี
1. M Mindset ทัศนคติ
2. S Service mind หัวใจรักงานบริการ
3. H Hard-working , honest ขยัน , ซื่อสัตย์
4. P polite สุภาพ
PDPA คือ อะไร ?
PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน
รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อนพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการต่างๆ หลายรูปแบบ
โดยกฎหมายนี้ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 ซึ่งเดิม จะบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2562 แล้ว เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือหรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อนพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) คือกฎหมายใหม่ที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา
ข้อมูลส่วนบุคลมีอะไรบ้าง
1.ชื่อ (Name)
2.เลขที่บัญชีธนาคาร (Bank Account)
3.ที่อยู่ (Location)
4.บัตรประชาชน (Citizen ID)
5.บัตรเครดิต (Credit Card Number)
6.เบอร์โทรศัพท์ (Phone number)
“ซึ่งเราจะนิยามคำว่า ข้อมูลส่วนบุคคลได้ยังไง ที่สอดคล้องกับ กฎหมาย PDPA ซึ่งในบางชนิดก็จะขึ้นอยู่กับบริบทของข้อมูลด้วย”
ติดตามทวงถามหนี้ อย่างไร ? ไม่ให้ผิด PDPA
1.สอบถามชื่อลูกค้า เพื่อยืนยันว่าบุคคลนั้นเป็น ลูกค้าจริง ผู้ว่าจ้างหรือบริษัทผู้ให้สินเชื่อย่อมให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคลคลอยู่แล้ว
-แสดงว่า พนักงานย่อมรู้ข้อมูลส่วนบุคลของลูกค้า แล้ว
2.จาก(แจ้งชื่อ-สกุลพนักงาน) ติดต่อจากบริษัท………………………..จำกัด เรื่อง ขอแจ้งยอดค้างชำระ ณ.ปัจจุบันของลูกค้า
-อันนี้เป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ. ติดตามทวงถามหนี้ปี พ.ศ.2558
3.ขออนุญาต ลูกค้าเพื่อบันทึกการสนทนา เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าทางบริษัทได้บันทึกมูลของลูกค้าไว้
–หากไม่ขออนุญาต หากการสนทนานั้น พนักงานนำไปเปิดเผยโดยเจตนา ทำให้ลูกค้าเสียหายเป็นความผิดทั้ง ตาม พ.ร.บ.ติดตามทวงถามหนี้ ปี พ.ศ.2558 และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่าวนบุคลคลปี 2562 มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
4.ห้ามมิให้คัดลอกหรือนำข้อมูลของลูกค้า อออกจากทางบริษัท โดยไม่ได้รับความยินจากลูกค้า โดยเด็ดขาด ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ
–เพราะการนำข้อมูลของลูกค้า แล้วเกิดความเสียหายต่อลูกค้า อาจทำให้ผู้ว่าจ้างหรือบริษัท ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี อาทิเช่น นำจดหมายทวงถามหนี้
ไปใช้ทำถุงกล้วยแขกขาย แล้วลูกค้าพบเข้าจะเกิดอะไรขึ้น ?
-แต่การนำใช้เพื่อใช้ ดำเนินการตามกฎหมาย อันนี้ไม่เข้าข่าย ความผิด ตาม พ.ร.บ.PDPA นะครับ
5. พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( PDPA) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานหรือสำนักงานฯ อยู่ภายใต้ พรบ.ฯ เกี่ยวกับข้อมูลอ่อนไหว ข้อมูลด้านสุขภาพของลูกค้า
1.หากลูกค้าอ้างว่ามีปัญหาสุขภาพให้รับฟังลูกค้าโดยไม่ต้องสอบถามว่าเป็นปัญหาสุขภาพอะไร แต่ให้หลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนประเด็นการเจรจา
โดยให้สอบถามปัญหาด้านอื่นๆ แทน เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง หรืออื่นๆ โดยให้หลีกเลี่ยงกรณีนี้และไม่ต้องขอเอกสารจากลูกค้า
2.ห้ามบันทึกปัญหาทางด้านสุขภาพลงในระบบติดตามหนี้
3.กรณีที่ลูกค้าต้องการขอลดยอดภาระหนี้ และอ้างถึงปัญหาสุขภาพซึ่งมีผลกับความสามารถชำระหนี้จริงๆ โดยไม่สามารถหาเหตุผลอื่นมาแทนได้ลูกค้าต้องลงนามยินยอมให้บริษัทฯนำข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพมาใช้ประกอบการพิจารณาทุกครั้ง ให้หลีกเลี่ยงกรณีนี้ให้มากที่สุด หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ขอเอกสารให้น้อยที่สุด เช่น ใบรับรองแพทย์ และใบนัดของโรงพยาบาล สำหรับข้อมูลการรักษาพยาบาลต่างๆ ไม่ต้องขอจากลูกค้า เช่น ข้อมูล MRI / CT / X-Rayโดยทุกครั้งให้ลูกค้าเขียนยินยอมให้บริษัทฯนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณาการทำเงื่อนไขผ่อนชำระหรือปิดจบหนี้บนเอกสารสำเนาบัตรประชาชนและเอกสารประกอบต่างๆทุกครั้ง
ตัวอย่างการขอสำเนาบัตรลูกค้า
ต้องขีดทับข้อมูลลูกค้าดังนี้
1.เลขบัตรประจำตัวประชาชน
2.ชื่อ-นามสกุล ภาษาอังกฤษ
3.วัน/เดือน/ปี เกิดของลูกค้า (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ)
4.ศาสนา
5.กรุ๊ปเลือด
6.ที่อยู่ลูกค้า