- รู้ลึก PDPA
- อายัดเงินเดือนที่ควรรู้
- เรื่อง ธปท. ออกหนังสือเวียน
- พรบ.การติดตามทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
- สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้
- พรก.แก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด
- ผู้ค้ำประกันควรรู้
- ติดตามทวงถามหนี้อย่างไร ? ไม่ผิด พ.ร.บ.ทวงหนี้และ พ.ร.บ.คุ้มครองขอมูลส่วนบุคล
- ฎีกาน่าสนใจ
- ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
- อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
ประราชกิจจานุเบกษา ประกาศ “พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564” ณ วันที่ 9 เม.ย. 64 โดยมีใจความสำคัญคือ
หากไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นนิติกรรมให้ใช้อัตรา 3% ปี โดยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ของประเทศได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยปกติให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุก 3 ปี ให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ยังมีการแก้ไข มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่น อันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกจากนั้น ให้พิสูจน์ได้”
มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 2241 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา 228/1 ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด และลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ในงวดใด เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ข้อตกลงใดขัดกับความในวรรคหนึ่ง ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ”
มาตรา 6 บทบัญญัติตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดนี้ ให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
พรก.แก้ไขดอกเบี้ยผิดนัด http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/026/T_0001.PDF